เครื่องมือช่วยตรวจสอบลิขสิทธิ์เบื้องต้น

มหาวิทยาลัยแนะนำเครื่องมือช่วยตรวจสอบลิขสิทธิ์เบื้องต้นในการนำ Resource ต่าง ๆ เข้ามาใช้ในสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้สร้างสรรค์ หากผู้สร้างสรรค์คิดว่า Resource ต่าง ๆ ที่ใช้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น มหาวิทยาลัยขอแนะนำว่าอย่ารวม Resource เหล่านั้นไว้ในสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ และวิธีที่ง่ายที่สุดในการตรวจสอบว่าสามารถใช้ Resource นั้นในสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้สร้างสรรค์ได้หรือไม่ คือการติดต่อขออนุญาตเจ้าของโดยตรงและปฏิบัติตามเงื่อนไขตาม “ข้อกำหนดและเงื่อนไข” หรือเอกสารใด ๆ ตามที่เจ้าของลิขสิทธิ์กำหนดไว้ 

 แพลตฟอร์มนี้เป็นแพลตฟอร์มสำหรับเนื้อหาด้านการศึกษา สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้สร้างสรรค์ควรได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความถูกต้องด้านลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของผู้สร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยไม่รับผิดชอบต่อสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือละเมิดลิขสิทธิ์งานของผู้อื่น 


ลิขสิทธิ์ (Copyright)

copyright-LU-2.jpg


ลิขสิทธิ์คืออะไร

สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถของตนเอง โดยไม่ลอกเลียนแบบงานของผู้อื่น ซึ่งงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง และผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์ 

การละเมิดลิขสิทธิ์

มาตรา 27 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ โดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

  1. ทำซ้ำหรือดัดแปลง
  2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน

อ้างอิงข้อมูลจาก 
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537  https://www.ipthailand.go.th/Copyright-Act

Creative Commons

copyright-LU-3.jpg

สัญญาอนุญาตแบบเปิดรูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิ์บางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ทั้งนี้หากผู้สร้างสรรค์ต้องการใช้ Resource จากเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องทำความเข้าใจ สัญลักษณ์ในใบอนุญาตทั้ง 6 ประเภท พื่อนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง 

อ้างอิงข้อมูลจาก
https://creativecommons.org/about/cclicenses/


คำแนะนำในการตรวจสอบลิขสิทธิ์เบื้องต้น

คำแนะนำในการตรวจสอบต่อไปนี้เป็นเพียงการตรวจสอบลิขสิทธิ์เบื้องต้น จะไม่ถือเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการร้องเรียนการละเมิดลิขสิทธิ์ในสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้นที่จะบอกได้ว่าผู้สร้างสรรค์มีสิทธิ์ใช้ได้หรือไม่ หากผู้สร้างสรรค์ไม่มั่นใจ มหาวิทยาลัยแนะนำให้ติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง 

คำแนะนำในการตรวจสอบลิขสิทธิ์เบื้องต้นของ Resource ที่มีอยู่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ

  1. ค้นหาแหล่งที่มาของ Resource ที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการใช้ อาทิ เว็บไซต์ที่เผยแพร่ Resource ของเจ้าของลิขสิทธิ์ 
  2. ค้นหา “ข้อกำหนดในการให้บริการและนโยบายลิขสิทธิ์” หรือ “ข้อกำหนดในการให้บริการ” หรือเอกสารใด ๆ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ด้านล่างของหน้าเว็บไซต์ 
  3. อ่านเอกสารอย่างละเอียดเพื่อทำความเข้าใจข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน 
  4. ตัดสินใจใช้ Resource ตาม “ข้อกำหนดและเงื่อนไข” หรือเอกสารใด ๆ ตามที่เจ้าของลิขสิทธิ์แจ้งอย่างเคร่งครัด 

 

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่
0 จาก 0 เห็นว่ามีประโยชน์